วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

การประดิษฐ์ตัวอักษร

        พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ  และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
        "เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้(ปี1205เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)
ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
        1.      อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
        2.      สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
        3.      สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
        4.      สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
        5.      สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
        6.      สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
        7.      สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
        8.      ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
                                        ฯลฯ
        อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา      ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

ที่มาของเนื้อหา :
ประวัติวรรณคดี 1 (ท 031)ของ รศ.บรรเทา กิตติศักดิ์ / อ.กรรณิการ์ กิตติศักดิ์:หน้า16 - 17:
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

x

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

บล็อคเกอร์สำหรับเรียน

ตัวอย่าง บทโทรทัศน์

การพัฒนาความคิด

 การพัฒนาความคิด (Initiation) เป็นขั้นตอนเริ่มแรก เริ่มต้นจาก ความคิด (Idea) มากมายอาทิผลิตรายการอะไร เป้าหมายคือใคร เนื้อ หาอย่างไร รูปแบบไหนกลุ่มเป้าหมายเป็นใครงบประมาณเท่าไหร่ ความคิดเหล่านี้เป็นคำถามสำคัญก่อนลงมือผลิตรายการโทรทัศน์
และเป็นรากฐานสำคัญที่สุดสำหรับเป็นแนวทางในการทำงานในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
 1. จุดริเริ่มทางความคิดด้านรายการ (Program Ideas)
 2. กำหนดกระบวนการสาร (Defined Process Message)
 3. เขียนข้อเสนอโครงงานการผลิตรายการ/ข้อเสนอผลิตรายการ (Program Proposal)
 4. เขียนบทและออกแบบงานต่าง ๆ (Script and Designs)
 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 1. จุดริเริ่มทางความคิดด้านรายการ (Program Ideas)
โดยมากผู้อา นวยการผลิต หรือ โปรดิวเซอร์มักเป็นผู้จุดประกาย
ความคิดในการสร้างรายการใหม่ เมื่อได้ช่วงเวลามา จะร่วมกับ
ทีมงานเลือกธีม เลือกประเภทรายการ เช่น
- รายการข่าว - รายการสัมภาษณ์ (ถาม-ตอบ)
- รายการพูดคุย (ทอล์คโดยผู้ดา เนินรายการ)
- รายการสารคดี(เจาะลึกเรื่องเดียว)
- รายการนิตยสาร(วาไรตี้) - รายการละคร เกมโชว์ กีฬา อื่นๆ
 2. กำหนดกระบวนการสาร (Defined Process Message)ทีมงานดำเนินการค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อกำหนดกรอบในการนำเสนอรายการโทรทัศน์ว่า
- รายการต้องการนำเสนออะไร
- เพื่ออะไร
- ให้ใคร
- อย่างไร
ควรมีเอกลักษณ์ จุดยืนของรายการให้เด่นชัด
 3. เขียนข้อเสนอโครงงานการผลิตรายการ/ข้อเสนอผลิตรายการ (Program Proposal)
เขียนข้อเสนอโครงงาน ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายระยะเวลานำเสนอ รูปแบบรายการ วิธีการผลิตงบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับ รายชื่อทีมงานควรเขียนอย่างกระชับ ชัดเจน สาระครบถ้วน ดึงดดูใจ
 4. เขียนบทและออกแบบงานต่าง ๆ (Script and Designs) ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อเสนอโครงงานแล้ว ทีมงานผู้ผลิตรายการโทรทศัน์จะต้องมาประชุมวางแผนสร้างบท
รายการ ซึ่งอาจกำหนดเป็นบทโทรทศัน์แบบก่ึงสมบูรณ์แบบสมบูรณ์มีทงั้ภาพและเสียง หรือแบบสตอรี่บอร์ด เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเห็นภาพชัดเจน เข้าใจตรงกันหลังจากนั้นทุกฝ่ายจึงออกไปค้นคว้าและออกแบบงานของตน ได้แก่ ฝ่ายฉาก ฝ่ายอุปกรณ์ประกอบฉาก ฝ่ายกราฟ ฝ่ายเสื้อผ้า ฝ่าย
คัดเลือกนักแสดง

เตรียมงานถ่ายทำรายการโทรทัศน์

 ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
 1. บทรายการโทรทัศน์ (Script)
 2. แตกบท (Breakdown Script)
 3. วางแผนบริหารจัดการคน เงิน อุปกรณ์ สถานที่ เวลา (Planning)
 4. จัดทำตารางเอกสารต่างๆ และหนังสือขออนุญาต (Production Scheduling ,Call sheet permit)

การเขียน

 สูตรสำเร็จการเขียน มี3 ประการ ต่อไปนี้
1. เริ่มต้นที่ความคิด (Idea)
เกณฑ์การพิจารณาเรื่องที่นำมาเขียน
- เร่ืองนั้น ต้องมีความใกล้ชดิกับผู้อ่าน
- เร่ืองนั้น สามารถดงึดูดความสนใจผู้อ่านได้ประมวลความคดิภายใต้
แนวคิดที่ชัดเจน
2. ลงมือเขียนร่าง (Draft)
3. เขียนให้เข้าใจง่าย (Simplify) ชัดเจน (Clarify) ตรงเป้าหมาย (Aim)
 คุณลักษณะที่ดีของงานเขียน
- เนื้อหา คือ ตัวเรื่องราว หรือประเด็น สำคัญที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านรับรู้จะต้องมีความชัดเจนจดลำดับเรื่องราวได้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
- มีความต่อเนื่อง ใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม
- ใช้ภาษา ถ้อยคา ได้ถูกต้อง
- ใช้ประโยคกะทัดรัด อ่านง่าย
- ใช้การย่อหน้า เว้นวรรคตอนอย่างเหมาะสม

การเขียนที่ใช้จินตนาการ

หลักการคิด-การเขียนพล็อตเรื่องนิยาย/ละคร/หนังสั้น
Plot /พล็อต/ โครงเรื่อง คือ ส่วนที่บ่งบอกประเด็นใจความของเนื้อเรื่องที่จะเขียนความยาวประมาณ 2-3 หน้า เพื่อวางเรื่องราวทั้งหมดPlot /พล็อต/ โครงเรื่อง คือเรื่องย่อแบบคร่าวๆของนิยาย ละคร เรื่องสั้น นั่นเองผู้เขียนย่อมต้องมีโครงเร่ืองท่อียากเขียนคร่าวๆ อยู่เสมอเพยีงแต่เราไม่ทนัรู้สึกว่าส่ิงนัน้ คือพล็อตเร่ืองของนิยาย/ละคร/หนังสั้นนั่นเอง
หลักการคิด-การเขียนพล็อตเรื่องนิยาย/ละคร/หนังสั้น
 พล็อต / โครงสร้าง เป็ นเครื่องมือพื้นฐานของนักเขียน
   ที่มีไว้เพื่อความบันเทิง... (ขณะเขียน อย่าเครียด)
 ระวังอย่า “ออกทะเล” คือการไม่สามารถชักน าความคิดมาปะติดประต่อ
   และควบคุมทิศทางไว้ได้อย่างใจ จนในที่สุดก็ไปไกล เกนิ กว่าจะกู่กลับและหาทางปิดจบเรื่องไม่      ลงโครงเร่ืองท่เีตรียมการไว้ตั้งแต่ต้นจะเข้ามามีบทบาท
 ตัวอย่าง การบันทึก/เริ่มคิด
 เติมอักษรลำดับเหตุการณ์ลงไปอีกนิด เป็น A B C ดังนี้
 AA - นางเอกกับพระเอกเคยเป็นเพื่อนสนิทในวัยเด็ก แล้วต้องแยกจากกันไป
   BB - พวกเขาบังเอิญกลับมาเจอกันอีกครั้ง นางเอก(รวย)เสียความทรงจำ
   CC- พระเอกดูแล ป้องกันภัยให้นางเอกและกลายเป็นความรักต่อกัน
หลักการคิด-การเขียนพล็อตเรื่องนิยาย/ละคร/หนังสั้น
 ในส่วนการเชื่อมต่อของพล็อตหลัก ไปยัง พล็อตรอง ควรให้ตัวละครหลักเป็นตัวเดินเรื่อง
 หากเรื่องนั้นตั้งชื่อให้นางเอกเป็นหลัก ควรให้นางเอกเป็นตัวเดินเรื่อง
 หลักในการสร้างตัวละครนั้น เราควรถามตัวเอง 3 อย่างต่อไปนี้... ใช้มาก / ใช้น้อย / ใช้ไหม?
การเขียนพล็อตละคร หนังสั้น นิยาย
 การเขียนที่ใช้จินตนาการ (โน้มน้าวใจ)
การเขียนเค้าโครงละคร มี 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1. จินตนาการ สร้างพล็อตเรื่อง
- คิดจากตัวละคร 1 คนแล้วเติมตัวอื่น ๆ เข้าไป
- คดิจากพืน้ฐานเร่ืองเดมิท่ีมีอยู่ แล้วดัดแปลงใส่
- บรรยากาศใหม่ ๆ เข้าไป
- คิดโดยเอาตัวละครจริงหลาย ๆ ตัวเอาผสมผสานกัน เช่น ตัวละครจากแฟ้มข่าว
2. สร้างตัวละคร ใส่บุคลิก
3. เริ่มเรื่อง
4. จบเรื่อง
5. กลางเรื่อง

การเขียนพล็อตละคร หนังสั้น นิยาย

 เรื่องราว (Event) ที่ดีต้องมี E1 + E2 + E3
- ต้องมีเหตุมีผล
- มีความเชื่อมโยง
- มีความซับซ้อน (เงื่อนไข – ปัญหาอุปสรรค)
- มีความขัดแย้ง (ดี – เลว จน – รวย)
- มีความประหลาดใจ (ได้ลุ้น)
- มีแก่นเรื่อง
- มีทางละคร (สนุก)

การเขียนที่ใช้จินตนาการ

 หมายเหตุ
- ฝึกคิดให้เป็นภาพ
- ควรให้ตัวละครเอกเป็ นตัวเดินเรื่อง
- ตัวละครสำคัญควรมีประมาณ 8 – 10 ตัว
- หาความหมายให้ตัวละครแต่ละตัว
- อาชีพตัวละครเป็นสิ่งสำคัญ
- อย่าจมอยู่ฉาก/สถานที่/เหตุการณ์เดียวนานเกินไป เรื่องต้องเคลื่อนไปข้างหน้า
- อย่าเขียนเรียงตามลำดับเวลา

หลักการนำเสนอทางสื่อโทรทัศน์

วิทยุโทรทัศน์ (Television) มีคุณลักษณะโดดเด่นหลายประการที่ช่วยสร้างความสนใจแก่ผู้ชม จึงเป็นส่ือท่ไีด้รับความนิยม เนื่องจากมีภาพ มีการเคลื่อนไหว ประกอบกับเทคนิคการนำเสนอเหมือนจริง
ด้วยเหตุที่เป็นสื่อที่นำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง ดังนั้นบุคลิกภาพของผู้ดำเนินรายการจงึต้องน่าสนใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ชม

การสร้างความหมายเพื่อเล่าเรื่องบนหน้าจอโทรทัศน์

ตามแนวคิดของกลุ่มทฤษฎีสัญวิทยา (Semiology) เชื่อกันว่า ความหมายเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยและสัญญะ (Sign) ต่างๆ ภายในโครงสร้างใด โครงสร้างหนึ่ง การ
สลับสับเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนองค์ประกอบ และบริบทที่เปลี่ยนไปจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้ เช่น ห้องว่างหนึ่งห้อง หากตกแต่งด้วยโต๊ะเก้าอี้ จัดห้องแบบคลาสรูม นั่นหมายถึง ห้องเรียน แต่ห้อง
เดียวกันหากจัดด้วยโต๊ะเก้าอีห้รูหรา มีชุดรับแขก น่ันหมายถงึ ห้องทำงานผู้บริหาร เป็นต้น
สรุป รูปสัญญะ / Signifier คือ รูปแบบ (Form) ที่ใช้ในการสื่อสาร หากเป็นสื่อสารเพื่อเล่าเรื่องราวผ่านสื่อโทรทัศน์ องค์ประกอบเหล่านั้นที่รวมกันออกมาเป็น Form ได้แก่ ภาพ ตัวอักษร เสียง ฉาก เสื้อผ้า ดนตรี เสียงประกอบฯลฯ ส่วน ความหมายสัญญะ / Signified คือ ความคิด/มโนภาพ (Idea/Concept) ท่สีามารถส่ือออกไปให้คนดโูทรทศัน์เข้าใจได้ซึ่งแต่ละสังคมอาจมีข้อตกลงร่วมกันในการอ่านรหัสเหล่านั้นแตกต่างกัน ผู้ผลิตรายการโทรทศัน์จึงควรพถิพีถันในการเลือกลงรหัสต่างๆกาญจนา แก้วเทพ (2549) อ้างถึง สจ๊วร์ต ฮอลล์(Hall,1973) กล่าวว่า ผู้ผลิตรายการโทรทศัน์สามารถกำหนดได้ว่า ต้องการให้ผู้ชมเหน็อะไรและไม่เห็นอะไรในการเล่าเรื่องบนจอโทรทัศน์ โดยการเลือกใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดวาง “ความหมาย” ให้เป็นไปตามกรอบของภาษาโทรทศัน์ท่มีสีสัน น่าดึงดดูใจ เช่น การแสดง ฉากมุมกล้อง ขนาดภาพ การเคลื่อนกล้อง การแต่งกายเหล่านี้จะทำให้ผู้ชมสามารถถอดรหสัของผู้ผลิตได้เช่น รายการข่าว ผู้ผลิตต้องใช้รูปแบบรหสัในการเล่าเรื่องทีแตกต่างจากรายการเกมโชว์เป็นต้น
การเล่าเรื่องบนหน้าจอโทรทัศน์ด้วยเทคนิคต่างๆ ผ่านอวัจนภาษา 7 ประการ ต่อไปนี้
1. เทศภาษา – ตำแหน่ง ระยะห่างของบุคคล สื่อความหมาย- ระดับความใกล้ชิดสนิทสนม และลำดับชั้นทางสังคม การเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์– การจัดวางองค์ประกอบภาพ ขนาดภาพ การจัดแสดง การเว้นพื้นที่ว่าง
2. กาลภาษา – ช่วงเวลา เช่น สว่าง มืด ฝนตก
สื่อความหมาย- รุ่งเรือง ตกต่ำโหดร้ายการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การจัดแสง การตัดต่อภาพ การใช้เสียงประกอบ
3. เนตรภาษา – การใช้ดวงตา เพื่อสื่ออารมณ์สื่อความหมาย- จริงจัง จริงใจ กรุ้มกริ่ม
การเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การแสดง การใช้ขนาดภาพ การตัดต่อ การใช้มุมกล้อง
4. สัมผัสภาษา – การใช้อาการสื่อความหมายสื่อความหมาย- กอด -แสดงความรัก โอบไหล่-สนิทสนมการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การแสดง การใช้ขนาดภาพ การตัดต่อ การใช้มุมกล้อง
5. อาการภาษา – การใช้ความเคลื่อนไหว ท่าทางสื่ออารมณ์สื่อความหมาย- เดินกร่าง-นักเลง นั่งพับเพียบ-เรียบร้อย เดินไว-รีบการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การแสดง การเคลื่อนกล้อง การ
ตัดต่อ
6. วัตถุภาษา – การเลือกใช้วัตถุเพื่อแสดงความหมายที่ต้องการสื่อสื่อความหมาย- บ้านสลัม-ยากจน รถเบนซ์-รำรวย หรูการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การจัดฉาก องค์ประกอบฉาก
การออกแบบเสื้อผ้า การแต่งหน้าตัวละคร
7. ปริภาษา – การใช้น้ำเสียง โทนเสียงสำเนียงประกอบถ้อยคำสื่อความหมาย- เสียงต่ำ-โกรธสำเนียงท้องถิ่น-ต่างจังหวัด การเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การใช้น้ำเสียงของตัวละคร การ
ปรับแต่งเสียง การใช้ดนตรีและเสียงประกอบ

การเขียนบทโทรทัศน์

 การเขียนบทโทรทัศน์มีข้อแนะนำต่อไปนี้
- ต้องคิดออกมาเป็ นภาพ (องค์ประกอบด้านภาพมีความสำคัญ 50 %)
- มีความเข้าใจการน าเสนอทางวิทยุโทรทัศน์
- ใช้เทคนิคประกอบพอสมควร
- ภาพและเสียงต้องสัมพันธ์กัน
- ควรใช้ตัวหนังสือประกอบ (SUPERIMPOSE) เพื่อเสริมการรับรู้ของผู้ชม
- คำนึงถึงการสื่อความหมายง่ายเป็นหลัก
- เขียนเรื่องที่น่าสนใจ ควรค่าแก่การเผยแพร่ออกอากาศ
 ชนิดของภาพ (Types of Shot)
ภาพหรือ Shot ต่าง ๆ ที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์นั้น ภาษาทาง
โทรทัศน์จะมีชื่อเรียกเฉพาะโดยอาจเรียกตามขนาดภาพ ตามส่วนของ
ร่างกายของคนท่ีถูกถ่าย หรือตามจำนวนสิ่งที่ถูกถ่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาพในโทรทัศน์นัน้ ส่วนใหญ่จะถูกเรียกตามขนาดของภาพ (Shot Size) อันหมายถงึความใกล้ไกลของส่งิท่ีถูกถ่าย (Subject) เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อม ซ่งึส่งิท่ีถูกถ่ายนีอ้าจเป็น คน สัตว์ ส่งิของ หรือวัตถุใดๆ ก็ตาม ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกรอบภาพ หรืออาจจะกล่าวว่า เป็นสิ่งที่เป็นจุดรวมความสนใจ (Center of Interest) ในกรอบภาพก็ได้
 ศัพท์เทคนิคในการขียนบทวิทยุโทรทัศน์ /คำสั่งกล้องขนาดภาพ
 ELS/XLS ไกลมากๆ (เห็นตัวคนลิบๆ)
 VLS ไกลมาก (เห็นทั้งตัวคน ฉากหลังหลวมๆ)
 LS / Full Shot ไกล (เห็นทั้งตัวคน)
 MLS ปานกลางไกล (เห็นหัวเข่า-ศีรษะ)
 MS ปานกลาง (หัว – เอว)
 MCU ปานกลางใกล้ (หัว – ราวนม)
 CU ใกล้ (หัว – กระดุมเสื้อเม็ดที่ 2 จากกระดุมคอ)
 BCU ใกล้มาก (เต็มหน้า)
 VCU ใกล้มาก ๆ (คาง-หน้าผาก)
 ECU/XCU ใกล้ที่สุด (จับภาพเฉพาะส่วน)
ทั้งนี้ขนาดภาพ M.S. เป็นขนาดที่ใช้มากที่สุดเพราะใกล้เคียงกับตาคนเรามากที่สุด
- การเปลี่ยนภาพจาก ภาพ หนึ่งไปอีก ภาพ หนึ่ง อาจใช้วิธีการดังนี้
 Dissolve /MIX ภาพหนึ่งก าลังเลือนไปภาพใหม่กำลังเข้ามา
 Cut ตัด (Cut to C.U.)
 Zoom ดึงภาพเข้ามา
 Dolly พาคนดเูข้าไป (เคลื่อนกล้องอาจนำ / ตาม)

ศัพท์ในการสั่งตัดต่อลำดับภาพ
EDIT การตัดต่อลำดับภาพ
INSERT การแทรกภาพ
DISSOLVE/MIX การจางซ้อนภาพ 2 ภาพ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
SUPERIMPOSE การซ้อนตัวอักษรบนภาพ
PACK SHOT ภาพท่ีมีองค์ประกอบสมบูรณ์มองเหน็รูปลักษณ์
ของวัตถุอย่างชัดเจนในระยะใกล้จัดเป็ นภาพไฮไลท์มักนิยมสำหรับทิ้งท้ายในงานโฆษณา
 ศัพท์ในการสั่งช่างกล้อง
 CUE ใช้ในการสั่งเริ่มรายการ
 CUT ตัดภาพ (จากภาพหนึ่งไปอีกภาพหนึ่ง/จากล้องหนึ่งไปอีกกล้องหนึ่ง/ยุติการถ่ายทำ)
 FADE IN (F/I)/FADE UP สั่งภาพให้ปรากฏบนจอ
 FADE OUT (F/O) สั่งภาพให้หายไปจากจอ
 DOLLY IN (OUT) / TRACK IN (OUT) เคลื่อนกล้องเข้า/ออกจากบุคคลหรือวัตถุ
 TRUCK LEFT (RIGHT) เคลื่อนกล้องไปทางซ้าย/ขวา
 PAN LEFT (RIGHT) ส่ายกล้องไปทางซ้าย/ขวา แนวระดับ
 TILT UP (DOWN) เงยกล้องขึ้น/ลงในแนวตั้ง
 ZOOM IN (OUT) ดึงภาพเข้า/ออกโดยเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
 FOCUS ปรับความชัดเจนให้ภาพคมชัดที่สุด
 FLASH BACK แสดงภาพย้อนกลับไปสู่เหตุการณ์ในอดตี
 FLASH FORWARD เสนอภาพเหตุการณ์
 FREEZE หยุดแช่ภาพอยู่กับที่
 HEAD ROOM ช่องว่างของภาพเหนือขอบบนของศีรษะหรือวัตถุและด้านล่าง(เว้นระยะให้พอดีมิฉะนั้นคนดจูะรู้สึกอดึอัด)
 WALKING ROOM พื้นที่ด้านหน้าของสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวในจอโทรทัศน์กับกรอบภาพด้านหน้า ซึ่งควรมีมากกว่าด้านหลัง
 มุมกล้อง
 มุมสูง ให้ความรู้สึกน่าสงสาร เหงา
(กล้องอยู่สูงแล้วกดต่ำ ลงมา)
 มุมต่ำ ให้อำนาจ ความยิ่งใหญ่
(กล้องอยู่ต่ำ แล้วเงยขึนไป)
 มุม P.O.V. (Point of View) ระดับสายตา
 กล้อง คือ คนดู
การท าบทรายการโทรทัศน์
1.บทโทรทศัน์แบบสมบูรณ์คือ บทโทรทศัน์ท่มีีรายละเอียดทงั้
ภาพและเสียงโดยละเอียด
ส่วนภาพอย่ดู้านซ้ายประกอบด้วยคา ส่ังกล้องและบรรยายภาพ
ส่วนเสียงอย่ดู้านขวา ประกอบด้วยคา ส่ังเสยีงและบทสนทนา
2. บทโทรทศัน์แบบก่งึสมบูรณ์คือ บทโทรทศัน์ท่มีีส่วนของภาพและเสียงคร่าวๆเพื่อนไปถ่ายทำต่อไป
3. บทโทรทัศน์แบบสตอรี่บอร์ด คือบทโทรทัศน์ที่มีภาพเขียนด้วย
ลายเส้น ด้านล่างประกอบด้วยคำสั่งกล้องและบรรยายภาพและคำสั่งเสียงและบทสนทนา
***ศึกษาตัวอย่างการเขียนบท**


L.S. (Long Short) หมายถึง ภาพระยะไกล ซึ่งถ่ายให้เห็นสิ่งต่างๆ ในมุมกว้าง

M.S. (Mediam Short) หมายถึง ภาพในระยะปานกลาง มุมแคบเข้ามาอีกหน่อย แต่ยังเห็น Background ส่วนประกอบของภาพอยู่บ้าง ถ้าเป็นการถ่ายภาพคนจะเห็นครึ่งตัว ระดับเอวขึ้นไป

C.U. (Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้ โคลสอัพให้เห็นเป็นเฉพาะส่วนสำคัญในภาพโดยไม่เห็นองค์ประกอบ ถ้าเป็นภาพคนจะเห็นแต่ตัวเต็มจอ

E.C.U. (Extra Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้มาก เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ยี่ห้อบนหีบห่อสินค้า หรือถ้าเป็นภาพคนก็เห็นแค่บางส่วน เช่น จมูก ปาก ไม่เต็มหน้า
Cut หมายถึง การตัดเปลี่ยนจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง

Dissolve หมายถึง การเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง โดยค่อยๆ เบลอร์ภาพแรกให้จางหายไปพร้อมๆ กับให้ภาพซีนต่อไปค่อยๆ ปรากฎชัดเจนขึ้นแทน ซึ่งอาจใช้เทคนิคชั้นสูง หรือใช้การเปลี่ยนระยะชัดของเลนส์เพื่อเลื่อนภาพ ขณะเลื่อนภาพหนึ่งออก และเลื่อนอีกภาพหนึ่งเข้า
ขอบคุณ
Pan หมายถึง การกวาดภาพโดยตำแหน่งกล้องอยู่กับที่ แต่ตัวเลนส์ของกล้องเคลื่อนไปตามแนวนอนขนานกับพื้นดิน จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย

Zoom in หมายถึง การดึงภาพเข้าใกล้ เปลี่ยนระยะจาก L.S. เป็น M.S. เป็น C.U. หรือ E.C.U.

Dolly หมายถึง การกวาดภาพโดยกล้องตั้งอยู่บนลานเลื่อน แล้วเคลื่อนตามคน หรือวัตถุ เพื่อเปลี่ยนมุมมอง


http://edu-technocom.blogspot.com/p/blog-page_213.html
ที่มา : http://openupmedia.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html