บล็อคเกอร์สำหรับเรียน
ตัวอย่าง บทโทรทัศน์
การพัฒนาความคิด
การพัฒนาความคิด (Initiation) เป็นขั้นตอนเริ่มแรก เริ่มต้นจาก ความคิด (Idea) มากมายอาทิผลิตรายการอะไร เป้าหมายคือใคร เนื้อ หาอย่างไร รูปแบบไหนกลุ่มเป้าหมายเป็นใครงบประมาณเท่าไหร่ ความคิดเหล่านี้เป็นคำถามสำคัญก่อนลงมือผลิตรายการโทรทัศน์และเป็นรากฐานสำคัญที่สุดสำหรับเป็นแนวทางในการทำงานในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
1. จุดริเริ่มทางความคิดด้านรายการ (Program Ideas)
2. กำหนดกระบวนการสาร (Defined Process Message)
3. เขียนข้อเสนอโครงงานการผลิตรายการ/ข้อเสนอผลิตรายการ (Program Proposal)
4. เขียนบทและออกแบบงานต่าง ๆ (Script and Designs)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. จุดริเริ่มทางความคิดด้านรายการ (Program Ideas)
โดยมากผู้อา นวยการผลิต หรือ โปรดิวเซอร์มักเป็นผู้จุดประกาย
ความคิดในการสร้างรายการใหม่ เมื่อได้ช่วงเวลามา จะร่วมกับ
ทีมงานเลือกธีม เลือกประเภทรายการ เช่น
- รายการข่าว - รายการสัมภาษณ์ (ถาม-ตอบ)
- รายการพูดคุย (ทอล์คโดยผู้ดา เนินรายการ)
- รายการสารคดี(เจาะลึกเรื่องเดียว)
- รายการนิตยสาร(วาไรตี้) - รายการละคร เกมโชว์ กีฬา อื่นๆ
2. กำหนดกระบวนการสาร (Defined Process Message)ทีมงานดำเนินการค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อกำหนดกรอบในการนำเสนอรายการโทรทัศน์ว่า
- รายการต้องการนำเสนออะไร
- เพื่ออะไร
- ให้ใคร
- อย่างไร
ควรมีเอกลักษณ์ จุดยืนของรายการให้เด่นชัด
3. เขียนข้อเสนอโครงงานการผลิตรายการ/ข้อเสนอผลิตรายการ (Program Proposal)
เขียนข้อเสนอโครงงาน ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายระยะเวลานำเสนอ รูปแบบรายการ วิธีการผลิตงบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับ รายชื่อทีมงานควรเขียนอย่างกระชับ ชัดเจน สาระครบถ้วน ดึงดดูใจ
4. เขียนบทและออกแบบงานต่าง ๆ (Script and Designs) ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อเสนอโครงงานแล้ว ทีมงานผู้ผลิตรายการโทรทศัน์จะต้องมาประชุมวางแผนสร้างบท
รายการ ซึ่งอาจกำหนดเป็นบทโทรทศัน์แบบก่ึงสมบูรณ์แบบสมบูรณ์มีทงั้ภาพและเสียง หรือแบบสตอรี่บอร์ด เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเห็นภาพชัดเจน เข้าใจตรงกันหลังจากนั้นทุกฝ่ายจึงออกไปค้นคว้าและออกแบบงานของตน ได้แก่ ฝ่ายฉาก ฝ่ายอุปกรณ์ประกอบฉาก ฝ่ายกราฟ ฝ่ายเสื้อผ้า ฝ่าย
คัดเลือกนักแสดง
เตรียมงานถ่ายทำรายการโทรทัศน์
ขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 1. บทรายการโทรทัศน์ (Script)
2. แตกบท (Breakdown Script)
3. วางแผนบริหารจัดการคน เงิน อุปกรณ์ สถานที่ เวลา (Planning)
4. จัดทำตารางเอกสารต่างๆ และหนังสือขออนุญาต (Production Scheduling ,Call sheet permit)
การเขียน
สูตรสำเร็จการเขียน มี3 ประการ ต่อไปนี้1. เริ่มต้นที่ความคิด (Idea)
เกณฑ์การพิจารณาเรื่องที่นำมาเขียน
- เร่ืองนั้น ต้องมีความใกล้ชดิกับผู้อ่าน
- เร่ืองนั้น สามารถดงึดูดความสนใจผู้อ่านได้ประมวลความคดิภายใต้
แนวคิดที่ชัดเจน
2. ลงมือเขียนร่าง (Draft)
3. เขียนให้เข้าใจง่าย (Simplify) ชัดเจน (Clarify) ตรงเป้าหมาย (Aim)
คุณลักษณะที่ดีของงานเขียน
- เนื้อหา คือ ตัวเรื่องราว หรือประเด็น สำคัญที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านรับรู้จะต้องมีความชัดเจนจดลำดับเรื่องราวได้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
- มีความต่อเนื่อง ใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม
- ใช้ภาษา ถ้อยคา ได้ถูกต้อง
- ใช้ประโยคกะทัดรัด อ่านง่าย
- ใช้การย่อหน้า เว้นวรรคตอนอย่างเหมาะสม
การเขียนที่ใช้จินตนาการ
หลักการคิด-การเขียนพล็อตเรื่องนิยาย/ละคร/หนังสั้นPlot /พล็อต/ โครงเรื่อง คือ ส่วนที่บ่งบอกประเด็นใจความของเนื้อเรื่องที่จะเขียนความยาวประมาณ 2-3 หน้า เพื่อวางเรื่องราวทั้งหมดPlot /พล็อต/ โครงเรื่อง คือเรื่องย่อแบบคร่าวๆของนิยาย ละคร เรื่องสั้น นั่นเองผู้เขียนย่อมต้องมีโครงเร่ืองท่อียากเขียนคร่าวๆ อยู่เสมอเพยีงแต่เราไม่ทนัรู้สึกว่าส่ิงนัน้ คือพล็อตเร่ืองของนิยาย/ละคร/หนังสั้นนั่นเอง
หลักการคิด-การเขียนพล็อตเรื่องนิยาย/ละคร/หนังสั้น
พล็อต / โครงสร้าง เป็ นเครื่องมือพื้นฐานของนักเขียน
ที่มีไว้เพื่อความบันเทิง... (ขณะเขียน อย่าเครียด)
ระวังอย่า “ออกทะเล” คือการไม่สามารถชักน าความคิดมาปะติดประต่อ
และควบคุมทิศทางไว้ได้อย่างใจ จนในที่สุดก็ไปไกล เกนิ กว่าจะกู่กลับและหาทางปิดจบเรื่องไม่ ลงโครงเร่ืองท่เีตรียมการไว้ตั้งแต่ต้นจะเข้ามามีบทบาท
ตัวอย่าง การบันทึก/เริ่มคิด
เติมอักษรลำดับเหตุการณ์ลงไปอีกนิด เป็น A B C ดังนี้
AA - นางเอกกับพระเอกเคยเป็นเพื่อนสนิทในวัยเด็ก แล้วต้องแยกจากกันไป
BB - พวกเขาบังเอิญกลับมาเจอกันอีกครั้ง นางเอก(รวย)เสียความทรงจำ
CC- พระเอกดูแล ป้องกันภัยให้นางเอกและกลายเป็นความรักต่อกัน
หลักการคิด-การเขียนพล็อตเรื่องนิยาย/ละคร/หนังสั้น
ในส่วนการเชื่อมต่อของพล็อตหลัก ไปยัง พล็อตรอง ควรให้ตัวละครหลักเป็นตัวเดินเรื่อง
หากเรื่องนั้นตั้งชื่อให้นางเอกเป็นหลัก ควรให้นางเอกเป็นตัวเดินเรื่อง
หลักในการสร้างตัวละครนั้น เราควรถามตัวเอง 3 อย่างต่อไปนี้... ใช้มาก / ใช้น้อย / ใช้ไหม?
การเขียนพล็อตละคร หนังสั้น นิยาย
การเขียนที่ใช้จินตนาการ (โน้มน้าวใจ)
การเขียนเค้าโครงละคร มี 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1. จินตนาการ สร้างพล็อตเรื่อง
- คิดจากตัวละคร 1 คนแล้วเติมตัวอื่น ๆ เข้าไป
- คดิจากพืน้ฐานเร่ืองเดมิท่ีมีอยู่ แล้วดัดแปลงใส่
- บรรยากาศใหม่ ๆ เข้าไป
- คิดโดยเอาตัวละครจริงหลาย ๆ ตัวเอาผสมผสานกัน เช่น ตัวละครจากแฟ้มข่าว
2. สร้างตัวละคร ใส่บุคลิก
3. เริ่มเรื่อง
4. จบเรื่อง
5. กลางเรื่อง
การเขียนพล็อตละคร หนังสั้น นิยาย
เรื่องราว (Event) ที่ดีต้องมี E1 + E2 + E3- ต้องมีเหตุมีผล
- มีความเชื่อมโยง
- มีความซับซ้อน (เงื่อนไข – ปัญหาอุปสรรค)
- มีความขัดแย้ง (ดี – เลว จน – รวย)
- มีความประหลาดใจ (ได้ลุ้น)
- มีแก่นเรื่อง
- มีทางละคร (สนุก)
การเขียนที่ใช้จินตนาการ
หมายเหตุ- ฝึกคิดให้เป็นภาพ
- ควรให้ตัวละครเอกเป็ นตัวเดินเรื่อง
- ตัวละครสำคัญควรมีประมาณ 8 – 10 ตัว
- หาความหมายให้ตัวละครแต่ละตัว
- อาชีพตัวละครเป็นสิ่งสำคัญ
- อย่าจมอยู่ฉาก/สถานที่/เหตุการณ์เดียวนานเกินไป เรื่องต้องเคลื่อนไปข้างหน้า
- อย่าเขียนเรียงตามลำดับเวลา
หลักการนำเสนอทางสื่อโทรทัศน์
วิทยุโทรทัศน์ (Television) มีคุณลักษณะโดดเด่นหลายประการที่ช่วยสร้างความสนใจแก่ผู้ชม จึงเป็นส่ือท่ไีด้รับความนิยม เนื่องจากมีภาพ มีการเคลื่อนไหว ประกอบกับเทคนิคการนำเสนอเหมือนจริงด้วยเหตุที่เป็นสื่อที่นำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง ดังนั้นบุคลิกภาพของผู้ดำเนินรายการจงึต้องน่าสนใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ชม
การสร้างความหมายเพื่อเล่าเรื่องบนหน้าจอโทรทัศน์
ตามแนวคิดของกลุ่มทฤษฎีสัญวิทยา (Semiology) เชื่อกันว่า ความหมายเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยและสัญญะ (Sign) ต่างๆ ภายในโครงสร้างใด โครงสร้างหนึ่ง การสลับสับเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนองค์ประกอบ และบริบทที่เปลี่ยนไปจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้ เช่น ห้องว่างหนึ่งห้อง หากตกแต่งด้วยโต๊ะเก้าอี้ จัดห้องแบบคลาสรูม นั่นหมายถึง ห้องเรียน แต่ห้อง
เดียวกันหากจัดด้วยโต๊ะเก้าอีห้รูหรา มีชุดรับแขก น่ันหมายถงึ ห้องทำงานผู้บริหาร เป็นต้น
สรุป รูปสัญญะ / Signifier คือ รูปแบบ (Form) ที่ใช้ในการสื่อสาร หากเป็นสื่อสารเพื่อเล่าเรื่องราวผ่านสื่อโทรทัศน์ องค์ประกอบเหล่านั้นที่รวมกันออกมาเป็น Form ได้แก่ ภาพ ตัวอักษร เสียง ฉาก เสื้อผ้า ดนตรี เสียงประกอบฯลฯ ส่วน ความหมายสัญญะ / Signified คือ ความคิด/มโนภาพ (Idea/Concept) ท่สีามารถส่ือออกไปให้คนดโูทรทศัน์เข้าใจได้ซึ่งแต่ละสังคมอาจมีข้อตกลงร่วมกันในการอ่านรหัสเหล่านั้นแตกต่างกัน ผู้ผลิตรายการโทรทศัน์จึงควรพถิพีถันในการเลือกลงรหัสต่างๆกาญจนา แก้วเทพ (2549) อ้างถึง สจ๊วร์ต ฮอลล์(Hall,1973) กล่าวว่า ผู้ผลิตรายการโทรทศัน์สามารถกำหนดได้ว่า ต้องการให้ผู้ชมเหน็อะไรและไม่เห็นอะไรในการเล่าเรื่องบนจอโทรทัศน์ โดยการเลือกใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดวาง “ความหมาย” ให้เป็นไปตามกรอบของภาษาโทรทศัน์ท่มีสีสัน น่าดึงดดูใจ เช่น การแสดง ฉากมุมกล้อง ขนาดภาพ การเคลื่อนกล้อง การแต่งกายเหล่านี้จะทำให้ผู้ชมสามารถถอดรหสัของผู้ผลิตได้เช่น รายการข่าว ผู้ผลิตต้องใช้รูปแบบรหสัในการเล่าเรื่องทีแตกต่างจากรายการเกมโชว์เป็นต้น
การเล่าเรื่องบนหน้าจอโทรทัศน์ด้วยเทคนิคต่างๆ ผ่านอวัจนภาษา 7 ประการ ต่อไปนี้
1. เทศภาษา – ตำแหน่ง ระยะห่างของบุคคล สื่อความหมาย- ระดับความใกล้ชิดสนิทสนม และลำดับชั้นทางสังคม การเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์– การจัดวางองค์ประกอบภาพ ขนาดภาพ การจัดแสดง การเว้นพื้นที่ว่าง
2. กาลภาษา – ช่วงเวลา เช่น สว่าง มืด ฝนตก
สื่อความหมาย- รุ่งเรือง ตกต่ำโหดร้ายการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การจัดแสง การตัดต่อภาพ การใช้เสียงประกอบ
3. เนตรภาษา – การใช้ดวงตา เพื่อสื่ออารมณ์สื่อความหมาย- จริงจัง จริงใจ กรุ้มกริ่ม
การเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การแสดง การใช้ขนาดภาพ การตัดต่อ การใช้มุมกล้อง
4. สัมผัสภาษา – การใช้อาการสื่อความหมายสื่อความหมาย- กอด -แสดงความรัก โอบไหล่-สนิทสนมการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การแสดง การใช้ขนาดภาพ การตัดต่อ การใช้มุมกล้อง
5. อาการภาษา – การใช้ความเคลื่อนไหว ท่าทางสื่ออารมณ์สื่อความหมาย- เดินกร่าง-นักเลง นั่งพับเพียบ-เรียบร้อย เดินไว-รีบการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การแสดง การเคลื่อนกล้อง การ
ตัดต่อ
6. วัตถุภาษา – การเลือกใช้วัตถุเพื่อแสดงความหมายที่ต้องการสื่อสื่อความหมาย- บ้านสลัม-ยากจน รถเบนซ์-รำรวย หรูการเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การจัดฉาก องค์ประกอบฉาก
การออกแบบเสื้อผ้า การแต่งหน้าตัวละคร
7. ปริภาษา – การใช้น้ำเสียง โทนเสียงสำเนียงประกอบถ้อยคำสื่อความหมาย- เสียงต่ำ-โกรธสำเนียงท้องถิ่น-ต่างจังหวัด การเล่าเรื่องโดยภาษาโทรทัศน์ – การใช้น้ำเสียงของตัวละคร การ
ปรับแต่งเสียง การใช้ดนตรีและเสียงประกอบ
การเขียนบทโทรทัศน์
การเขียนบทโทรทัศน์มีข้อแนะนำต่อไปนี้- ต้องคิดออกมาเป็ นภาพ (องค์ประกอบด้านภาพมีความสำคัญ 50 %)
- มีความเข้าใจการน าเสนอทางวิทยุโทรทัศน์
- ใช้เทคนิคประกอบพอสมควร
- ภาพและเสียงต้องสัมพันธ์กัน
- ควรใช้ตัวหนังสือประกอบ (SUPERIMPOSE) เพื่อเสริมการรับรู้ของผู้ชม
- คำนึงถึงการสื่อความหมายง่ายเป็นหลัก
- เขียนเรื่องที่น่าสนใจ ควรค่าแก่การเผยแพร่ออกอากาศ
ชนิดของภาพ (Types of Shot)
ภาพหรือ Shot ต่าง ๆ ที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์นั้น ภาษาทาง
โทรทัศน์จะมีชื่อเรียกเฉพาะโดยอาจเรียกตามขนาดภาพ ตามส่วนของ
ร่างกายของคนท่ีถูกถ่าย หรือตามจำนวนสิ่งที่ถูกถ่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาพในโทรทัศน์นัน้ ส่วนใหญ่จะถูกเรียกตามขนาดของภาพ (Shot Size) อันหมายถงึความใกล้ไกลของส่งิท่ีถูกถ่าย (Subject) เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อม ซ่งึส่งิท่ีถูกถ่ายนีอ้าจเป็น คน สัตว์ ส่งิของ หรือวัตถุใดๆ ก็ตาม ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกรอบภาพ หรืออาจจะกล่าวว่า เป็นสิ่งที่เป็นจุดรวมความสนใจ (Center of Interest) ในกรอบภาพก็ได้
ศัพท์เทคนิคในการขียนบทวิทยุโทรทัศน์ /คำสั่งกล้องขนาดภาพ
ELS/XLS ไกลมากๆ (เห็นตัวคนลิบๆ)
VLS ไกลมาก (เห็นทั้งตัวคน ฉากหลังหลวมๆ)
LS / Full Shot ไกล (เห็นทั้งตัวคน)
MLS ปานกลางไกล (เห็นหัวเข่า-ศีรษะ)
MS ปานกลาง (หัว – เอว)
MCU ปานกลางใกล้ (หัว – ราวนม)
CU ใกล้ (หัว – กระดุมเสื้อเม็ดที่ 2 จากกระดุมคอ)
BCU ใกล้มาก (เต็มหน้า)
VCU ใกล้มาก ๆ (คาง-หน้าผาก)
ECU/XCU ใกล้ที่สุด (จับภาพเฉพาะส่วน)
ทั้งนี้ขนาดภาพ M.S. เป็นขนาดที่ใช้มากที่สุดเพราะใกล้เคียงกับตาคนเรามากที่สุด
- การเปลี่ยนภาพจาก ภาพ หนึ่งไปอีก ภาพ หนึ่ง อาจใช้วิธีการดังนี้
Dissolve /MIX ภาพหนึ่งก าลังเลือนไปภาพใหม่กำลังเข้ามา
Cut ตัด (Cut to C.U.)
Zoom ดึงภาพเข้ามา
Dolly พาคนดเูข้าไป (เคลื่อนกล้องอาจนำ / ตาม)
ศัพท์ในการสั่งตัดต่อลำดับภาพ
EDIT การตัดต่อลำดับภาพ
INSERT การแทรกภาพ
DISSOLVE/MIX การจางซ้อนภาพ 2 ภาพ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
SUPERIMPOSE การซ้อนตัวอักษรบนภาพ
PACK SHOT ภาพท่ีมีองค์ประกอบสมบูรณ์มองเหน็รูปลักษณ์
ของวัตถุอย่างชัดเจนในระยะใกล้จัดเป็ นภาพไฮไลท์มักนิยมสำหรับทิ้งท้ายในงานโฆษณา
ศัพท์ในการสั่งช่างกล้อง
CUE ใช้ในการสั่งเริ่มรายการ
CUT ตัดภาพ (จากภาพหนึ่งไปอีกภาพหนึ่ง/จากล้องหนึ่งไปอีกกล้องหนึ่ง/ยุติการถ่ายทำ)
FADE IN (F/I)/FADE UP สั่งภาพให้ปรากฏบนจอ
FADE OUT (F/O) สั่งภาพให้หายไปจากจอ
DOLLY IN (OUT) / TRACK IN (OUT) เคลื่อนกล้องเข้า/ออกจากบุคคลหรือวัตถุ
TRUCK LEFT (RIGHT) เคลื่อนกล้องไปทางซ้าย/ขวา
PAN LEFT (RIGHT) ส่ายกล้องไปทางซ้าย/ขวา แนวระดับ
TILT UP (DOWN) เงยกล้องขึ้น/ลงในแนวตั้ง
ZOOM IN (OUT) ดึงภาพเข้า/ออกโดยเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
FOCUS ปรับความชัดเจนให้ภาพคมชัดที่สุด
FLASH BACK แสดงภาพย้อนกลับไปสู่เหตุการณ์ในอดตี
FLASH FORWARD เสนอภาพเหตุการณ์
FREEZE หยุดแช่ภาพอยู่กับที่
HEAD ROOM ช่องว่างของภาพเหนือขอบบนของศีรษะหรือวัตถุและด้านล่าง(เว้นระยะให้พอดีมิฉะนั้นคนดจูะรู้สึกอดึอัด)
WALKING ROOM พื้นที่ด้านหน้าของสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวในจอโทรทัศน์กับกรอบภาพด้านหน้า ซึ่งควรมีมากกว่าด้านหลัง
มุมกล้อง
มุมสูง ให้ความรู้สึกน่าสงสาร เหงา
(กล้องอยู่สูงแล้วกดต่ำ ลงมา)
มุมต่ำ ให้อำนาจ ความยิ่งใหญ่
(กล้องอยู่ต่ำ แล้วเงยขึนไป)
มุม P.O.V. (Point of View) ระดับสายตา
กล้อง คือ คนดู
การท าบทรายการโทรทัศน์
1.บทโทรทศัน์แบบสมบูรณ์คือ บทโทรทศัน์ท่มีีรายละเอียดทงั้
ภาพและเสียงโดยละเอียด
ส่วนภาพอย่ดู้านซ้ายประกอบด้วยคา ส่ังกล้องและบรรยายภาพ
ส่วนเสียงอย่ดู้านขวา ประกอบด้วยคา ส่ังเสยีงและบทสนทนา
2. บทโทรทศัน์แบบก่งึสมบูรณ์คือ บทโทรทศัน์ท่มีีส่วนของภาพและเสียงคร่าวๆเพื่อนไปถ่ายทำต่อไป
3. บทโทรทัศน์แบบสตอรี่บอร์ด คือบทโทรทัศน์ที่มีภาพเขียนด้วย
ลายเส้น ด้านล่างประกอบด้วยคำสั่งกล้องและบรรยายภาพและคำสั่งเสียงและบทสนทนา
***ศึกษาตัวอย่างการเขียนบท**
L.S. (Long Short) หมายถึง ภาพระยะไกล ซึ่งถ่ายให้เห็นสิ่งต่างๆ ในมุมกว้าง
M.S. (Mediam Short) หมายถึง ภาพในระยะปานกลาง มุมแคบเข้ามาอีกหน่อย แต่ยังเห็น Background ส่วนประกอบของภาพอยู่บ้าง ถ้าเป็นการถ่ายภาพคนจะเห็นครึ่งตัว ระดับเอวขึ้นไป
C.U. (Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้ โคลสอัพให้เห็นเป็นเฉพาะส่วนสำคัญในภาพโดยไม่เห็นองค์ประกอบ ถ้าเป็นภาพคนจะเห็นแต่ตัวเต็มจอ
E.C.U. (Extra Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้มาก เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ยี่ห้อบนหีบห่อสินค้า หรือถ้าเป็นภาพคนก็เห็นแค่บางส่วน เช่น จมูก ปาก ไม่เต็มหน้า
Cut หมายถึง การตัดเปลี่ยนจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง
Dissolve หมายถึง การเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง โดยค่อยๆ เบลอร์ภาพแรกให้จางหายไปพร้อมๆ กับให้ภาพซีนต่อไปค่อยๆ ปรากฎชัดเจนขึ้นแทน ซึ่งอาจใช้เทคนิคชั้นสูง หรือใช้การเปลี่ยนระยะชัดของเลนส์เพื่อเลื่อนภาพ ขณะเลื่อนภาพหนึ่งออก และเลื่อนอีกภาพหนึ่งเข้า
M.S. (Mediam Short) หมายถึง ภาพในระยะปานกลาง มุมแคบเข้ามาอีกหน่อย แต่ยังเห็น Background ส่วนประกอบของภาพอยู่บ้าง ถ้าเป็นการถ่ายภาพคนจะเห็นครึ่งตัว ระดับเอวขึ้นไป
C.U. (Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้ โคลสอัพให้เห็นเป็นเฉพาะส่วนสำคัญในภาพโดยไม่เห็นองค์ประกอบ ถ้าเป็นภาพคนจะเห็นแต่ตัวเต็มจอ
E.C.U. (Extra Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้มาก เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ยี่ห้อบนหีบห่อสินค้า หรือถ้าเป็นภาพคนก็เห็นแค่บางส่วน เช่น จมูก ปาก ไม่เต็มหน้า
Cut หมายถึง การตัดเปลี่ยนจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง
Dissolve หมายถึง การเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง โดยค่อยๆ เบลอร์ภาพแรกให้จางหายไปพร้อมๆ กับให้ภาพซีนต่อไปค่อยๆ ปรากฎชัดเจนขึ้นแทน ซึ่งอาจใช้เทคนิคชั้นสูง หรือใช้การเปลี่ยนระยะชัดของเลนส์เพื่อเลื่อนภาพ ขณะเลื่อนภาพหนึ่งออก และเลื่อนอีกภาพหนึ่งเข้า
ขอบคุณ
Pan หมายถึง การกวาดภาพโดยตำแหน่งกล้องอยู่กับที่ แต่ตัวเลนส์ของกล้องเคลื่อนไปตามแนวนอนขนานกับพื้นดิน จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย
Zoom in หมายถึง การดึงภาพเข้าใกล้ เปลี่ยนระยะจาก L.S. เป็น M.S. เป็น C.U. หรือ E.C.U.
Dolly หมายถึง การกวาดภาพโดยกล้องตั้งอยู่บนลานเลื่อน แล้วเคลื่อนตามคน หรือวัตถุ เพื่อเปลี่ยนมุมมอง
http://edu-technocom.blogspot.com/p/blog-page_213.html
ที่มา : http://openupmedia.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html
Pan หมายถึง การกวาดภาพโดยตำแหน่งกล้องอยู่กับที่ แต่ตัวเลนส์ของกล้องเคลื่อนไปตามแนวนอนขนานกับพื้นดิน จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย
Zoom in หมายถึง การดึงภาพเข้าใกล้ เปลี่ยนระยะจาก L.S. เป็น M.S. เป็น C.U. หรือ E.C.U.
Dolly หมายถึง การกวาดภาพโดยกล้องตั้งอยู่บนลานเลื่อน แล้วเคลื่อนตามคน หรือวัตถุ เพื่อเปลี่ยนมุมมอง
http://edu-technocom.blogspot.com/p/blog-page_213.html
ที่มา : http://openupmedia.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น